8.1 การเข้าสู่การทำงานของโปรแกรม SPSS for Windows
สำหรับคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งโปรแกรม SPSS for
Windows เสร็จเรียบร้อยแล้ว การเข้าสู่การทำงานมีขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์รอจนจอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ปรากฏ Icon ของโปรแกรมต่างๆ ที่ มีในคอมพิวเตอร์
ขั้นที่ 2 เข้าสู่โปรแกรม SPSS
for Windows โดยมีวิธีเลือกได้หลายวิธี คือ
1. โดยเลือกที่ Icon SPSS Statistic 20 บนหน้าจอแล้วดับเบิ้ลคลิกที่ Icon นั้น
2. เลื่อนเมาส์ไปคลิกที่ Start จะได้เมนูย่อย
แล้วเลือกที่ All Program จะได้เมนูย่อย
แล้วเลือกที่ IBM SPSS Statistics
20
ขั้นที่ 3 เมื่อเลือกวิธีการเข้าสู่โปรแกรม SPSS
for Windows ทั้ง 2 วิธี
แล้วจะได้ LOGO หน้าจอของโปรแกรม
ต่อจากภาพ LOGO ของโปรแกรมจะมีเมนูเริ่มต้นให้เลือกทำงานตามความเหมาะสม
เพื่อความสะดวกและเข้าจำได้โดยง่ายให้คลิก Cancel จะเข้าสู่การทำงานของ SPSS Data Editor
8.2 วินโดว์ของการทำงานแบบต่างๆ ของ SPSS for Windows
การทำงานของโปรแกรม SPSS for Windows มีการจำแนกวส่วนของวินโดว์ที่สำคัญดังนี้
8.2.1 SPSS data editor
SPSS
data editor เป็นwindow สำหรับเก็บแฟ้มข้อมูลที่จะนำมาวิเคราะห์โปรแกรมSPSS ซึ่งผู้ใช้อาจสร้างแฟ้มข้อมูลใหม่หรือนำข้อมูลที่สร้างจากโปแกรมอื่นๆ
เรียกเข้ามาใน Data Editor แล้วจะใช้งานต่อไป Data
Editorจะเปิดได้ครั้งล่ะหนึ่งwindowเท่านั้นและมีการแสดงลักษณะของแฟ้มข้อมูล 2 แบบ Data view และ Variable
view
1 ควรทราบเกี่ยวกับ SPSS Data Editor ในส่วนการทำงานของ Data
view
(1) ชื่อชนอดของ window ใน SPSS ขณะนี้คือ SPSS data editor
(2) ชื่อแฟ้มข้อมูลที่กำลังใช้งานหากยังไม่ได้ตั้งชื่อ SPSS จะได้ชื่อว่า Untitled1
(3) แถบเมนูของ SPSS data editor
(4) ชื่อตัวแปร Var00001 ของข้อมูล
(5) ลำดับที่ของค่าสังเกตในแฟ้มข้อมูล
(6) ค่าของข้อมูล ค่าสังเกตตัวที่ 4 ของตัวแปร Var00001
(7) เป็นการเลือกการทำงานในส่วนของ Data View เป็นส่วนทำเกี่ยวกับข้อมูล เช่น การวิเคราะห์ เช่นการใส่ค่าของข้อมูล
(8) เป็นการทำงานในส่วนของ Variable view
Variable view เป็น window ที่ทำงานเกี่ยวกับการกำหนดค่าต่างให้กับตัวแปร
(9)แสดงตำแหน่งของค่าสังเกตและค่าตัวแปรที่ Cell
pointer กำลังทำงาน
2. ข้อควรทราบเกี่ยวกับ SPSS Data Editor ในส่วนการทำงานของ Variable
View
ความหมายของแต่ละคอลัมน์
Name
กำหนดชื่อตัวแปร
Type
กำหนดชนิดของตัวแปรเป็น Numeric, String
Width กำหนดจำนวนหลักของตัวเลขหรือจำนวน Character
Decimals กำหนดตัวเลขทศนิยม
Label กำหนดคำอธิบายค่าตัวแปร
Values กำหนดค่าให้กับ Value Label
Missing กำหนดค่าสำหรับข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์
Columns กำหนดความกว้างของ Columns ในการแสดงผลของ Data View
Align กำหนดตำแหน่งการแสดงค่าว่าต้องการชิดซ้าย
ชิดขวา หรือกึ่งกลาง
Measure
กำหนดลักษณะข้อมูลว่าเป็นข้อมูลเชิงปริมาณ (Scale) หรือข้อมูลเชิงคุณภาพ(Ordinal)
ข้อควรจำ การเลือกทำกับ Data
View หรือ Variable View ให้คลิกที่มุมด้านล่างซ้าย
8.2.2
SPSS View
SPSS
View เป็น Windows สำหรับเก็บบันทึกผลลัพธ์ของการวิเคราะห์ที่เกิดจากการใช้โปรแกรม SPSS โดยจะบันทึกผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นทุกครั้งที่มีการวิเคราะห์ข้อมูลและผลลัพธ์จะถูกบันทึกอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะมีการสั่งการให้บันทึกผลลัพธ์ใน Window
Viewer อื่น ผู้ใช้สามารถเปิดWidows Viewer ได้มากกว่า 1 Windows Viewer ถ้ามีการเปิด Widows
Viewer มากกว่า 1Widows จะต้องมีการกำหนด Widows
Viewer ให้ทำหน้าที่เก็บผลลัพธ์ที่เกิดจากการประมวลผล
ข้อควรทราบเกี่ยวกับ SPSS Viewer
1. ชื่อชนิดของ Widows ใน SPSS ขณะนี้คือ SPSS Viewer
2. ชื่อแฟ้ม Output File ที่กำลังใช้งาน
หากยังไม่ได้ตั้งชื่อจะใช้ชื่อ Output1
3. แถบเมนูของ SPSS Viewer
4. แผนภูมิต้นไม้แสดงลำดับและตำแหน่งของการแสดงผล
5. ผลของการวิเคราะห์ข้อมูล
8.2.3 สรุปเนื้อหาของคำสั่งและขั้นตอนการทำงานโดยย่อของ SPSS for
Windows
1. SPSS Data Editor เป็น Window ที่เก็บแฟ้มข้อมูลที่จะนำมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมSPSS
2.
SPSS Viewer เป็น Windows ที่เก็บบันทึกรวบรวมผลลัพธ์ที่เกิดจากการใช้งานโปรแกรมSPSS สามารถเปิดได้ครั้งละหลายๆ Windows พร้อมกัน
3.
Help Window เป็น Windows ที่เก็บข้อมูลรายละเอียด
คำสั่ง คำอธิบาย ตัวอย่าง การใช้งานต่างๆของโปรแกรม SPSS
8.3 เมนูของโปรแกรม SPSS Data Editor
ข้อกำหนดในการสร้างแฟ้มข้อมูลใน SPSS
for Windows มีดังนี้
8.3.1 File ใช้เปิดแฟ้มข้อมูล บันทึกข้อมูล พิมพ์ข้อมูล ฯลฯ
8.3.2 Edit ใช้สำหรับย้ายข้อมูล คัดลอกกกข้อมูล ค้นหาข้อมูล
ลบข้อมูล ฯลฯ
8.3.3 View ปรับรูปแบบและขนาดตัวอักษร แสดง Value
Labels, Toolbars เลือก Data View, Variable View
8.3.4 Data ใช้จัดการกับข้อมูล เช่น สร้างตัวแปร แก้ไข
เรียงลำดับข้อมูล รวมแฟ้ม แทรกตัวแปร
8.3.5 Transform ใช้สร้างตัวแปรเพิ่มหรือจัดค่าตัวแปรใหม่
สร้างตัวแปรใหม่จากตัวแปรเก่า
8.3.6
Analyze ใช้เรียกคำสั่งเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
8.3.7
Graphs ใช้สำหรับสร้างกราฟรูปแบบต่างๆ
8.3.8
Utilities ใช้แสดงรายละเอียดตัวแปร
กำหนดกลุ่มตัวแปรกำหนดรูปแบบเมนู
8.3.9
Window ใช้เรียง Windows หรือเลือก Window ของ SPSS ขึ้นมาใช้งาน
8.3.10
Help ใช้ขอคำอธิบายการโปรแกรม SPSS for Windows
8.4 ไอคอนบนเมนูบาร์กับการทำงานของ SPSS for Windows
1. เปิดแฟ้มข้อมูล
2. บันทึกข้อมูล
3. พิมพ์ข้อมูลออกจากเครื่องพิมพ์
4. ดูบันทึกคำสั่งล่าสุดที่วิเคราะห์ข้อมูล
5. ยกเลิกคำสั่งก่อนหน้า
6. ไปหน้าต่างสำหรับแก้ไขแผนภูมิ (Windows Chart Editor)
7. ไปหาค่าสังเกตที่ต้องการ
8. แสดงรายละเอียดของตัวแปร
9. ค้นหาข้อมูล
10. แทรกค่าสังเกต
11. แทรกตัวแปร
12. แยกแฟ้มเป็น 2ส่วน
13. กำหนดตัวแปรน้ำหนัก
14. การวิเคราะห์ข้อมูลบางกลุ่ม (Select Case)
15. แสดงผลเป็นรายละเอียดหรือคำอธิบายตัวแปรหรือตัวเลข
16.
Use Set
17. แสดงตัวแปรทั้งหมด
18. สะกดคำ
8.5 การสร้างแฟ้มข้อมูล
สิ่งที่สำคัญของผู้ต้องการวิเคราะห์ข้อมูล อ การวางแผนเก็บข้อมูล
การสร้างแบบสอบถาม
การแปลความหมายขอบแบบสอบถามเพื่อเป็นข้อมูลของการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม SPSS
for Windows
ตัวอย่างที่ 8.1 วิทยาลัยอาชีวศึกษาแห่งหนึ่งต้องการเก็บรวบรวมข้อมูลของนักเรียน นักศึกษา
เกี่ยวกับ เพศ อายุ ระดับการศึกษา เกรดเฉลี่ย สังกัดคณะสี และภูมิลำเนา
จึงทำการสอบถามข้อมูลด้วยแบบสอบถามดังนี้
1. เพศ
( ) ชาย ( ) หญิง
2. อายุ...............ปี
3. ระดับการศึกษา
( ) ปวช. ( ) ปวส.
4. เกรดเฉลี่ย.............
5. สังกัดคณะสี
( ) สีแดงทับทิม
( ) สีเหลืองอำพัน
( ) สีเขียวมรกต
( ) สีน้ำเงินไพริน
6. ภูมิลำเนา
( ) ภายในเขตเทศบาล
( ) นอกเขตเทศบาล
|
เฉพาะเจ้าหน้าที่
()
SEX
()
() AGE
()
EDU
()
() () () GRADE
()
COLOR
()
ADDR
|
จากแบบสอบถามดังกล่าวจะต้องทำการกำหนดค่าต่างๆเช่น ชื่อแฟ้ม (File
Name) ชื่อตัวแปร (Variable Name)
ชนิดของค่าตัวแปร (Variable Label)
กำหนดค่าของข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ (MissingType)
คำอธิบายความหมายของชื่อตัวแปร (Variable Label)
คำอธิบายความหมายของค่าตัวแปร
(Value
Lable)
8.5.1 กำหนดของแฟ้มข้อมูลที่เราต้องการเป็นดังนี้
กำหนดเพศชื่อแฟ้มข้อมูล Example
1.sav
1. เพศ
กำหนดชื่อตัวแปร SEX
กำหนดชนิดของข้อมูล จำนวนเต็ม 1 หลัก
อธิบายความหมายของค่าตัวแปร
1. เพศชาย 2.
เพศหญิง
2. อายุ
กำหนดชื่อตัวแปร AGE
กำหนดชนิดของข้อมูล จำนวนเต็ม
2 หลัก
3.ระดับการศึกษา กำหนดชื่อตัวแปร EDU
กำหนดชนิดของข้อมูล จำนวนเต็ม 1 หลัก
อธิบายความหมายของค่าตัวแปร
1. ปวช. 2.
ปวส.
4.เกรดเฉลี่ย กำหนดชื่อตัวแปร GRADE
กำหนดชนิดของข้อมูล จำนวนจริง (X.XX)
5.สังกัดคณะสี กำหนดชื่อตัวแปร COLOR
กำหนดชนิดของข้อมูล จำนวนเต็ม 1 หลัก
อธิบายความหมายของค่าตัวแปร
1. สีแดงทับทิม
2. สีเหลืองอำพัน
3. สีเขียวมรกต
4. สีน้ำเงินไพลิน
6.ภูมิลำเนา กำหนดชื่อตัวแปร ADDR
กำหนดชนิดของข้อมูล จำนวนเต็ม 1 หลัก
อธิบายความหมายของค่าตัวแปร
1. ภายในเขตเทศบาล 2. นอกเขตเทศบาล
ตัวอย่างแบบสอบถามที่นักเรียน
นักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาแห่งหนึ่งได้ทำการกรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
1. เพศ
(√) ชาย ( ) หญิง
2. อายุ...............ปี
3. ระดับการศึกษา
( ) ปวช. (√) ปวส.
4. เกรดเฉลี่ย.............
5. สังกัดคณะสี
( ) สีแดงทับทิม
(√) สีเหลืองอำพัน
( ) สีเขียวมรกต
( ) สีน้ำเงินไพริน
6. ภูมิลำเนา
(√) ภายในเขตเทศบาล
( ) นอกเขตเทศบาล
|
เฉพาะเจ้าหน้าที่
(1)
SEX
(1)
(9) AGE
(2)
EDU
(3)
(.) (7) (8) GRADE
(2)
COLOR
(1)
ADDR
|
8.5.2 การสร้างแฟ้มข้อมูลใน SPSS Data Editor
เริ่มต้นการสร้างข้อมูลที่ SPSS Data Editor
คลิกที่ Variable View
SPSS Data Editor จะเปลี่ยนไปทำงานในส่วนของการกำหนดค่าตัวแปร
ความหมายของแต่ละ Column ของ Variable
View
1. Name กำหนดชื่อตัวแปร
2. Type กำหนดชนิดของตัวแปร เช่น
ตัวเลข (Numeric) ตัวอักษร (String)
3. Width กำหนดความกว้างสำหรับเก็บค่าตัวแปร
4.
Decimal กำหนดตำแหน่งทศนิยมของข้อมูลตัวเลข
5.
Label กำหนดคำอธิบายชื่อของตัวแปร
6.
Values กำหนดความหมายให้กับค่าของตัวเลข เช่น 1 หมายถึงชาย 2 หมายถึง หญิง
7.
Missing กำหนดค่าของข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ เช่น
การกรอกข้อมูลผิด ไม่ตอบข้อมูลตามที่ต้องการ
8.
Columns กำหนดค่าความกว้างของ Columns ใน Data View
9. Align กำหนดการแสดงผลใน Columns เป็นชิดซ้าย ชิดชวา หรือกึ่งกลาง
10.
Measure กำหนดชนิดของข้อมูลเป็น Scale, Ordinal,
Norminal
8.5.3 การกำหนดค่าต่างๆของตัวแปร SEX
1. การกำหนดค่าต่างๆของตัวแปร SEX
พิมพ์ชื่อตัวแปร SEX ในช่อง Name ของตัวแปรตัวที่ 1
เมื่อกด Enter โปรแกรมจะนำค่า Default ของ SPSS เกี่ยวกับตัวแปรมาเติมให้
จากข้อกำหนดการสร้างตัวแปร SEX
1. เพศ
กำหนดชื่อตัวแปร SEX
กำหนดชนิดของข้อมูล จำนวนเต็ม 1 หลัก
อธิบายความหมายของค่าตัวแปร
1. เพศชาย
2. เพศหญิง
การเปลี่ยนข้อกำหนดต่างๆของตัวแปร SEX ให้คลิกที่ Numeric จะได้เมนูย่อย
1. ให้เลือกชนิดของตัวแปรเป็น Numeric
2. เปลี่ยนค่า Width จาก 8 เป็น 1
3. เปลี่ยนค่า Decimal จาก 2 เป็น 0
เมื่อเปลี่ยนค่า Width และ Decimal
Places เรียบร้อยแล้วให้คลิกที่ OK จอภาพก็จะกลับมาที่SPSS Data Editor ในส่วนของ Variable
View
การกำหนด Values ให้กับตัวแปร SEX ให้คลิกที่ช่อง None ของตัวแปร SEX บนจอภาพที่ช่อง Values ของตัวแปร SEX จะเปลี่ยนเป็น None ให้คลิกที่
ตำแหน่งลูกศรชี้ None จะได้เมนูย่อยของ Values
Labels ของการกำหนดค่าเป็นดังนี้
ขั้นที่ 1 ไปที่ช่อง Values พิมพ์ค่า 1 เสร็จแล้วกด Tab เพื่อไปที่ช่อง Label
ขั้นที่ 2 พิมพ์ความหมายของคำว่า Label เป็น Male
ขั้นที่ 3 คลิกที่ Add จะได้ผลบนเมนูย่อยของ Define Label
ขั้นที่ 4 ในทำนองเดียวกันไปที่ช่อง Values พิมพ์คำว่า 2 เสร็จแล้วกด Tab เพื่อไปที่ช่องLabel
ขั้นที่ 5 พิมพ์ความหมายของค่า Label เป็น Female เสร็จแล้วคลิกที่ Add
หมายเหตุ คำสั่ง Change เป็นการเลือกที่จะเปลี่ยนค่า Values และ Label
คำสั่ง Remove เป็นการยกเลิกค่า Values และ Label
เมื่อดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วคลิกที่ OK จอภาพก็จะกลับมาที่ SPSS
Data Editor ในส่วนของVariable View
ข้อสังเกต ในช่อง Values ของตัวแปร SEX (ลูกศรชี้)
มีคำอธิบายของความหมายบางส่วนของ Label ปรากฏ
ขณะนี้กำหนดค่าต่างๆ ของตัวแปร SEX เรียบร้อยแล้ว
2. การกำหนดค่าตัวแปรต่างๆของ AGE, EDUC, GRADE, COLOR,
ADDR ให้ทำตามขั้นตอนในขั้นตอนที่ 1 ถึง ขั้นตอนที่ 5 ของตัวแปร SEX เมื่อดำเนินการเรียบร้อยแล้วจะได้จอภาพและจะกลับมาที่ SPSS
Data Editor ในส่วนของ Variable View
ขณะกำหนดค่าต่างๆของตัวแปรเรียบร้อยแล้ว คลิกที่ Data
View จะกลับไปในส่วนการทำงานที่เกี่ยวกับการใส่ข้อมูล
ผลบนจอภาพจะเป็นดังนี้
จากข้อมูลที่เก็บมาจากนักศึกษา จำนวน 30 คน
ได้ข้อมูลดังนี้
เมื่อพิมพ์ข้อมูลข้างต้นลงใน SPSS Data
Editor ในส่วนของ Data View จะได้ข้อมูลดังนี้
8.6 การบันทึกข้อมูล
ขั้นที่ 1 คลิกที่คำสั่ง File
/Save จะได้เมนูย่อย Save Data As
จะได้เมนูย่อย Save Data As
ขั้นที่ 2 บันทึกข้อมูลในช่อง File
Name โดยพิมพ์ชื่อ Example1
ขั้นที่ 3 คลิกที่ Save จะเห็นได้ว่า Untitled เปลี่ยนเป็น Example1
8.7 การเปิดแฟ้มข้อมูลเดิมที่เคยบันทึกไว้กลับมาใช้งาน
ขั้นที่ 1 เข้าสู่ SPSS Data Editor แล้วเลือกคำสั่ง File
ขั้นที่ 2 เลือกคำสั่ง Open และตามด้วย Data
ขั้นที่ 3 เมื่อเลือกที่ Data เรียบร้อยแล้วบนหน้าจอ
ขั้นที่ 4
1. ในช่อง look in ให้เลือก Directory ที่มีชื่อแฟ้มที่ต้องการอยู่
2. ดูรายชื่อข้อมูลแล้วเลือกแฟ้มที่ต้องการโดยการกดดับเบิ้ลคลิกที่ชื่อแฟ้ม
3. พิมพ์ชื่อแฟ้มที่ต้องการลงในช่อง File
Name เมื่อเสร็จแล้วคลิกที่ปุ่ม Open จะได้ข้อมูลที่ต้องการออกมาบนจอภาพ
ขณะนี้เปิดแฟ้มข้อมูล Example 1.sav เข้าสู่การทำงานของ SPSS Data Editor เรียบร้อยแล้ว
พร้อมที่จะทำงานต่อไป